เลือกชีวิตที่เต็มไปด้วยความสนุก และความทรงจำที่สุดแสนจดจำ ที่ "Wrentham Cable Access"

ดูอาการโรคเท้าแบน

อาการของผู้สุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคเท้าแบน หรือภาวะเท้าแบน

ดูอาการโรคเท้าแบน
ดูอาการโรคเท้าแบน

โดยทั่วไปแล้ว ผู้ที่ประสบภาวะเท้าแบนไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาหากไม่ได้มีอาการเจ็บปวดใดๆ ที่เท้า อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เกิดภาวะเท้าแบน ควรไปพบแพทย์ หากมีอาการต่อไปนี้

  • รู้สึกเจ็บฝ่าเท้าแม้จะสวมรองเท้าที่ใส่สบายและรองรับเท้าแล้ว
  • รู้สึกเจ็บที่อุ้งเท้าและส้นเท้า
  • ฝ่าเท้าด้านในบวมขึ้น
  • ยืนไม่ค่อยได้ หรือเคลื่อนไหวทรงตัวบนเท้าลำบาก
  • เจ็บหลังและขา
  • รองเท้าที่เคยสวมได้ ไม่สามารถสวมได้ และชำรุดเร็วเกินไป
  • เท้าแบนมากยิ่งขึ้น
  • ฝ่าเท้าอ่อนแรง รู้สึกชา หรือเกิดอาการฝ่าเท้าแข็ง

สาเหตุของโรคเท้าแบน หรือภาวะเท้าแบน

  • เกิดจากความผิดปกติตั้งแต่เกิด หรือกระดูกเท้ายังเจริญไม่เต็มที่เมื่ออยู่ในครรภ์ รวมทั้งได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
  • เนื้อเยื่อส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่ยึดเชื่อมกัน เช่น โรคหนังยืดผิดปกติ ( Ehlers-Danlos Syndrome) หรือกลุ่มอาการที่ข้อต่อหย่อน (Joint Hypermobility Syndrome)
  • มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและเส้นประสาท เช่น โรคสมองพิการ (Cerebral Palsy) ความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง (Spina Bifida) หรือโรคกล้ามเนื้อเสื่อม (Muscular Dystrophy)
  • เนื้อเยื่อที่เชื่อมกันตรงฝ่าเท้ายืดและอักเสบ
  • เอ็นข้อเท้าที่ยึดขาส่วนล่าง ข้อเท้า และตรงกลางฝ่าเท้าเกิดการอักเสบ (Posterior Tibial Tendon Dysfunction)
  • กระดูกหักหรือกระดูกงอกผิดที่

ผู้สุ่มเสี่ยงหรือมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคเท้าแบน หรือภาวะเท้าแบน

  • ผู้ที่บุคคลในครอบครัวมีประวัติป่วยเป็นภาวะเท้าแบน
  • ผู้ที่เล่นกีฬาหรือต้องทำกิจกรรมหนักๆ อันส่งผลให้เท้าและข้อเท้าเสี่ยงได้รับบาดเจ็บ
  • ผู้ป่วยโรคอ้วน เนื่องจากเอ็นที่รองรับอุ้งเท้าต้องแบกน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ทำให้ไม่สามารถทรงตัวได้
  • ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง เนื่องจากโรคนี้จะส่งผลต่อเลือดที่ไหลไปเลี้ยงเอ็นที่เท้า
  • ผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานส่งผลต่อเส้นประสาทที่เท้า และยังทำให้เส้นเอ็นอ่อนแรง
  • สตรีมีครรภ์ เนื่องจากน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นและผลกระทบจากฮอร์โมนทำให้เอ็นยึดข้ออ่อนนุ่มขึ้น
  • ผู้ป่วยโรคข้อรูมาตอยด์ เนื่องจากโรคนี้ส่งผลต่อข้อต่อหรือทำให้เอ็นอ่อนแอลง
  • ผู้ที่อายุมาก เนื่องจากเส้นเอ็นจะเสื่อมและยืดออกตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น
  • ผู้สูงอายุที่ล้มหรือได้รับบาดเจ็บที่ร่างกาย
  • ผู้ที่ป่วยเป็นโรคที่ส่งผลต่อกล้ามเนื้อ

อย่างไรก็ตาม โรคนี้ก็ยังพอมีวิธีรักษาให้หายได้ แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับการดูแลตัวเองด้วย นั่นก็คือ การสวมใส่รองเท้าสําหรับคนเท้าแบน ซึ่งการสวมใส่รองเท้าสําหรับคนเท้าแบนจะช่วยให้คุณเจ็บปวดน้อยลง และรองเท้าสําหรับคนเท้าแบนยังช่วยให้อาการไม่แย่ลงไปกว่าเดิมอีกด้วย หากท่านใดต้องอ่าน และ ดูอาการโรคเท้าแบน เพิ่มเติม สามารถเข้าไปอ่านได้ที่เว็บไซต์ https://www.schollshoesthailand.com/store/articles?key=flat_feet

Categories: